ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ
เป็นงานประเพณีที่ชาวนครสวรรค์ได้จัดขึ้นทุกปีซึ่งจะตรงกับ
วันตรุษจีนของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 1 ของจีนในงานจะมีการแห่มังกรทอง ซึ่งชาวจีนถือว่าเป็นเทพเจ้าที่บันดาลคุณประโยชน์อย่างมากแก่มวลมนุษย์จึงแห่แหนเพื่อแสดงความกตัญญู
มีการเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่ตามศาลต่างๆมาแห่ร่วมขบวนด้วยริ้วขบวนอันประกอบด้วย วงดุริยางค์ ขบวนดนตรีของจีนแต้จิ๋ว ขบวนธง ขบวนเชิดสิงโตกวางตุ้ง สิงโตแคระ สิงโตไหหลำ เอ็งกอล่อโก๊ะ ขบวนเจ้าพ่อเจ้าแม่ ขบวนมังกรทอง ฯลฯ แห่ไปตามถนนต่าง ๆ ในตัวเมือง
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
จังหวัดเพชรบูรณ์
จัดขึ้นด้วยความเชื่อที่ว่าจะทำให้บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์และ
ร่มเย็นเป็นสุขซึ่งช่วงเวลาที่จัดงานนี้จะตรงกับเทศกาลสารทไทย แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปีจะมีการจัดขบวนแห่"พระพุทธมหาธรรมราชา" ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวเพชรบูรณ์ทั้งทางบกและทางน้ำ เพื่อนำไปบริเวณลำน้ำหน้าโบสถ์ชนะมาร
โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ เจ้าเมืองเท่านั้น เป็นผู้อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชาดำนำทั้ง 4 ทิศ โดยอุ้มพระหันพระพักตร์ไปทางเหนือ 3 หน ลงใต้ 3 หน ถือว่าทำครบ ข้าว น้ำ จะอุดมสมบูรณ์ไม่แล้งต่อจากนั้นจึงนำองค์พระพุทธมหาธรรมราชาไปประดิษฐาน หน้าศาลากลางจังหวัด เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้สรงน้ำ
โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ เจ้าเมืองเท่านั้น เป็นผู้อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชาดำนำทั้ง 4 ทิศ โดยอุ้มพระหันพระพักตร์ไปทางเหนือ 3 หน ลงใต้ 3 หน ถือว่าทำครบ ข้าว น้ำ จะอุดมสมบูรณ์ไม่แล้งต่อจากนั้นจึงนำองค์พระพุทธมหาธรรมราชาไปประดิษฐาน หน้าศาลากลางจังหวัด เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้สรงน้ำ
พระพุทธรูปสำคัญ หรือ "พระพุทธมหาธรรมราชา" ที่นำมาอุ้มดำน้ำนั้นปัจจุบัน
ประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรภูมิเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะลพบุรี ทรงชฎาเทริด (หรือมีกะบังหน้า)
พระพักตร์กว้างเนื้อสำริดหน้าตักกว้าง13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว มีกำไลแขนและประคดเป็นลวดลายไม่มีฐาน
มีตำนานเล่าว่า ย้อนหลังไปประมาณ 400 ปีก่อน พระพุทธรูปองค์นี้จมอยู่ในลำน้ำป่าสักพวกทอดแหหาปลาไปพบองค์พระลอยขึ้นมาปรากฏอยู่เหนือน้ำ ต่างมั่นใจว่าต้องเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แน่นอน จึงอัญเชิญขึ้นมาและนำไประดิษฐานที่วัดไตรภูมิ ต่อมาเกิดหายไปแต่ก็ไปพบอยู่ในลำน้ำป่าสักตรงที่เดิมจึงได้อัญเชิญขึ้นมาบนบกอีกครั้งหนึ่งและจัดให้มีการนำมาสรงน้ำและทำพิธีดำน้ำทุกปี ถ้าปีไหนละเว้น เชื่อกันว่าจะทำให้บ้านเมืองเกิดความ แห้งแล้งข้าวยากหมากแพง
ประเพณีกำฟ้า
จังหวัดสิงห์บุรี
เป็นประเพณีพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยพวนในจังหวัดสิงห์บุรี
ซึ่งถือว่าเป็นการเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือเทวดาผู้รักษาท้องฟ้า ทั้งนี้เพราะชาวบ้านมีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า เมื่อได้มีการทำบุญประกอบพิธีกรรมตั้งบายศรีและประกาศขอพรจากทวยเทพผู้รักษาท้องฟ้าแล้ว เทพยดาอารักษ์ก็จะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล"วันกำฟ้า" ของพวกไทยพวนในหมู่บ้านต่างๆ จะถูกจัดขึ้นไม่ตรงกันแล้วแต่ท้องที่ แต่จะถือกันว่าให้จัดขึ้นภายใน 3 เดือน คือเดือนอ้ายขึ้น 14 ค่ำ เดือนยี่ขึ้น 13 ค่ำ และเดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ สำหรับในจังหวัดสิงห์บุรีจะถือเอาวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกๆ ปีเป็นวันกำฟ้าในวันแรกของงานคือวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 หรือที่เรียกว่า "วันสุกดิบ" นี้ชาวบ้านจะช่วยกันทำ "ข้าวปุ้น"หรือ "ขนมจีน" กับทั้งน้ำยาหรือน้ำพริกอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อนำไปทำบุญถวายพระที่วัด
ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งแต่ต่อมาจะแจกจ่ายให้ตามบ้านญาติพี่น้อง เพื่อเป็นการแสดงความเอื้ออารีต่อกัน และถือเป็นการทำกุศลอย่างหนึ่งน้อยกว่าได้มีการ เปลี่ยนจากข้าวปุ้นมาเป็นการเผา "ข้าวหลาม" แทน หรือที่เรียกกันว่า"ข้าวหลามทิพย์" แทนเพราะลงทุนและเก็บได้หลายวันบางคนจึงเรียกงานบุญกำฟ้าว่า "งานบุญข้าวหลาม" ก็มี
ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งแต่ต่อมาจะแจกจ่ายให้ตามบ้านญาติพี่น้อง เพื่อเป็นการแสดงความเอื้ออารีต่อกัน และถือเป็นการทำกุศลอย่างหนึ่งน้อยกว่าได้มีการ เปลี่ยนจากข้าวปุ้นมาเป็นการเผา "ข้าวหลาม" แทน หรือที่เรียกกันว่า"ข้าวหลามทิพย์" แทนเพราะลงทุนและเก็บได้หลายวันบางคนจึงเรียกงานบุญกำฟ้าว่า "งานบุญข้าวหลาม" ก็มี
พิธีทางสงฆ์ในวันกำฟ้านี้ จะมีพระสงฆ์จำนวน 9 รูปมาเจริญพระพุทธมนต์เย็น
จากนั้นผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เรียกกันว่า "อาจารย์" จะแต่งชุดสีขาว ก็จะทำพิธีสวดเบิกบายศรีบูชาเทวดาพร้อมกับอัญเชิญเทวดาทั่วสารทิศมารับเครื่องสังเวยและดูพิธีกรรม มีการรำขอพรโดยหญิงสาวภายในหมู่บ้าน เสร็จจากการรำถวายแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี
สำหรับชาวบ้านเมื่อเสร็จจากทำบุญในตอนเช้าแล้ว ตอนบ่ายก็จะร่วมพิธีกรรม
ร่วมกันส่วนในตอนเย็นชาวบ้านก็จะร่วมกันเล่นกีฬาพื้นบ้าน เช่น ไม้หึ่ม มอญซ่อนผ้า ช่วงรำวิ่งวัว(ใช้คนวิ่งเป็นคู่ๆ ผู้คว้าธงแดงได้ก่อนเป็นผู้ชนะ) ตีไก่ หรือการเล่นแตะหม่าเปย (คล้ายสะบ้า) กันอย่างสนุกสนาน
และต่อจากนี้ไปอีก 5 วัน ชาวบ้านก็จะจัดสำรับกับข้าวอาหารคาวหวานไปถวาย
พระภิกษุที่วัดอีกครั้งหนึ่งเมื่อเสร็จจากการทำบุญแล้วก็จะนำเอาฟืนซึ่งกำลังลุกอยู่ในเตาไฟดุ้นหนึ่งไปลอยในแม่น้ำลำคลอง ที่อยู่ใกล้บ้านเพื่อเป็นการสักการะบูชาเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนท้องฟ้าเพื่อจะบันดาลให้ฝนตกลงมา และในช่วง 7 วันนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะคอยฟังเสียงฟ้าร้องคำรามว่ามาจากทิศใด ห่างหรือถี่ขนาดไหนแล้วก็จะทำนายทายทักไปตามทิศนั้นว่าปีนี้ฝนจะตกมากหรือตกน้อย การทำนาจะได้ผลดีหรือได้ผลน้อย เป็นต้น
ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย
จังหวัดลำพูน
จะจัดขึ้นในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (เหนือ)
ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 6 ทางภาคกลาง ชาวบ้านจะพากันเดินทางมาสรงน้ำเพื่อสักการะพระธาตุหริภุญชัยซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยน้ำที่นำมาสรงองค์พระธาตุนั้นชาวลำพูนมักขึ้นไปตักจากบ่อน้ำทิพย์บนยอดอยขะม้อ ซึ่งชาวลำพูนเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
วัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหารจังหวัดลำพูน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ 1700 ในรัชสมัย
พระเจ้าอาทิตยราชส่วนสถูปสุวรรณเจดีย์ในบริเวณเดียวกันนั้นสร้างโดยพระนางปทุมวดี พระมเหสีของพระเจ้าอาทิตยราช
ประเพณี "ปอยส่างลอง" หรือ "ประเพณีบวชลูกแก้ว"
แม่ฮ่องสอน
เป็นประเพณีประจำปีของชาวไตหรือไทยใหญ่เกือบทั้งหมดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเพณีนี้เป็นการนำเด็กชายที่มีอายุครบบวชเข้าบรรพชาเป็นสามเณร เพื่อกล่อมเกลาให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีต่อไป
คำว่า "ปอยส่างลอง" เป็นภาษาไทยใหญ่ ซึ่งสามารถแยกศัพท์ออกได้คือ "ปอย"
คำว่า "ปอยส่างลอง" เป็นภาษาไทยใหญ่ ซึ่งสามารถแยกศัพท์ออกได้คือ "ปอย"
แปลว่างานหรือพิธีการ "ส่าง" หมายถึง สามเณร ส่วน "ลอง" แปลว่า ยังไม่ได้เป็น ฉะนั้น
เมื่อนำมารวมกันจะหมายถึงพิธีการเตรียมตัวเป็นสามเณรนั่นเอง
กระบวนการปอยส่างลอง จะเริ่มขึ้นเมื่อมีการชักชวนกันของชาวบ้านที่มีลูกหลาน
อายุครบบวช โดยจะมีการคัดเลือกเจ้าภาพใหญ่ ซึ่งจะเป็นแม่งานในการจัดงาน ซึ่งมักจะเป็นคหบดีหรือผู้กว้างขวางในสังคมโดยเจ้าภาพจะมีหน้าที่ในการร่วมกันกำหนดขั้นตอนของพิธีการส่วนเด็กที่มีอายุครบบวช จะถูกนำตัวไปอยู่วัดเพื่อเรียนรู้วัตรปฎิบัติสำหรับการเป็นสามเณรก่อนพิธีการประมาณ 20 วัน
ส่วนผู้ใหญ่ก็จะวางกำหนดการวันประกอบพิธีซึ่งจะแบ่งเป็น 3 วัน วันรับส่างลองไปฝึกวัตรปฏิบัติที่วัดกลับมาประกอบพิธีที่บ้านเจ้าภาพ วันที่สองเป็นวันแห่เครื่องไทยทานและเรียกขวัญส่างลอง (คล้ายๆ กับการทำขวัญนาค)
ซึ่งจะประกอบด้วยขบวนแห่ฟ้อนรำแบบไทยใหญ่ขบวนมโหรี ขบวนแห่เครื่องไทยทาน เครื่องอัฐบริขาร เทียนเงินเทียนทอง เป็นต้น
ซึ่งส่างลองจะถูกตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับที่สวยงาม และจะขี่คอผู้ช่วยที่เรียกกันว่า "ตาแปส่างลอง" ตลอดการเดินทาง และวันที่สามเป็นวับรรพชา ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากการบรรพชาในส่วนอื่นๆ ของประเทศเท่าใดนัก
ส่วนผู้ใหญ่ก็จะวางกำหนดการวันประกอบพิธีซึ่งจะแบ่งเป็น 3 วัน วันรับส่างลองไปฝึกวัตรปฏิบัติที่วัดกลับมาประกอบพิธีที่บ้านเจ้าภาพ วันที่สองเป็นวันแห่เครื่องไทยทานและเรียกขวัญส่างลอง (คล้ายๆ กับการทำขวัญนาค)
ซึ่งจะประกอบด้วยขบวนแห่ฟ้อนรำแบบไทยใหญ่ขบวนมโหรี ขบวนแห่เครื่องไทยทาน เครื่องอัฐบริขาร เทียนเงินเทียนทอง เป็นต้น
ซึ่งส่างลองจะถูกตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับที่สวยงาม และจะขี่คอผู้ช่วยที่เรียกกันว่า "ตาแปส่างลอง" ตลอดการเดินทาง และวันที่สามเป็นวับรรพชา ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากการบรรพชาในส่วนอื่นๆ ของประเทศเท่าใดนัก
จังหวัดตาก
ช่วงเวลา ทุกวันโกนของช่วงเข้าพรรษา
ความสำคัญ
เป็นการเตรียมอาหารเพื่อนำไปถวาย(ทำบุญ)ข้าวพระพุทธในวันพระ
พิธีกรรม
ทางวัดได้จัดให้คณะอุบาสกที่จะหาบหาม ต้องไปวัดในวันโกนก่อนที่จะนุ่งขาวห่มขาวแล้วรับศีล ๕ ก่อนออกเดินแห่ขบวน โดยจัดรูปขบวนเดินมีฆ้อง ระฆัง นำหน้า ตามด้วยพระพุทธรูปที่อัญเชิญใส่พานมา ขบวนหาบจะมีทั้งโตกไม้ จานสำหรับใส่อาหาร ขนม ตะกร้าสำหรับใส่ผลไม้ ออกเดินทางตามเส้นทางที่กำหนด สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคเงินก็จะใส่ลงในขันหรือพานพระพุทธรูป จากนั้นจะพักรับประทานอาหารว่างและถ่ายข้าวของ โดยแยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ จตุปัจจัยที่เป็นเงิน และจตุปัจจัยที่เป็นอาหารแล้วแยกย้ายกันกลับบ้าน
ชาวไทยใหญ่ถือว่าประเพณีถวายข้าวพระพุทธในวันพระจะได้รับอานิสงส์อันยิ่งใหญ่
ประเพณีกรวยสลาก
จังหวัดตาก
ช่วงเวลา ประเพณีกรวยสลาก หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า กินก๋วยสลาก ได้ปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกปีเกือบทุกวัด เริ่มจะไม่มีกำหนดตายตัว อาจจะทำในช่วงเข้าพรรษาก็เคยมี
ความสำคัญ
เป็นงานประเพณีของท้องถิ่นที่ปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกปี ทุกบ้านจะหยุดงานเพื่อมาร่วมกันเตรียมงาน เตรียมกองสลาก เตรียมจัดอาหารเลี้ยงผู้ที่มาร่วมงาน
พิธีกรรม
เมื่อได้กำหนดวันกรวยสลากแล้ว ทางวัดจะแจ้งให้ผู้มีจิตศรัทธาทราบเพื่อจัดเตรียมอาหารสิ่งของต่าง ๆ ที่พระภิกษุจำเป็นต้องใช้ อาจทำเป็นบุคคลหรือคณะก็ได้ แต่ละกอง สิ่งของที่เตรียมมานี้จะทำภาชนะบรรจุอย่างสวยงาม ประดับตกแต่งเป็นซุ้มแบบเรือนไทย เรือนยอดหรือดอกบัว ตั้งเรียงรายรอบพระอุโบสถ วันนี้ถือว่าเป็นวันสำคัญทางวัดจะจัดเตรียมอาหารคาหวาน
ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารผู้มาในงานนี้อย่างเต็มที่ บุคคลที่จะได้จับสลากก็คือ พระภิกษุที่ได้นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นเจ้าอาวาสหรือพระภิกษุที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ เมื่อมาพร้อมกันแล้วก็เข้าพระอุโบสถทำพิธีสวดมนต์บทต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลของพุทธศาสนิกชน ต่อจากนั้นก็เริ่มจับสลาก พระภิกษุรูปใดจับได้หมายเลขหรือชื่อที่ตรงกับซุ้มกรวยสลากหมายเลขหรือชื่อนั้นก็ไปรับถวายพร้อมด้วยอนุโมทนา เจ้าของกรวยสลากก็ช่วยกันหาซุ้มกรวยสลากใส่รถแห่ไปส่งถึงวัดอย่างสนุกสนาน
ประเพณีการแข่งเรือ
จังหวัดนครสวรรค์
หลังออกพรรษา ภายในเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก ชาวบ้านจะจัดให้มีงานเทศกาลไหว้พระ และแข่งขันเรือยาวกัน
ความสำคัญ
การแข่งเรือในจังหวัดนครสวรรค์มีชื่อเสียงมาก โดยเฉพาะที่วัดเกาะหงษ์ ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จะมีเรือที่มีชื่อเสียงจากต่างจังหวัดมาร่วมแข่งขันมากมาย ปัจจุบันจังหวัดเป็นผู้จัดการแข่งขันกันบริเวณสะพานเดชาติวงศ์
การแข่งขันเรือยาวจะจัดให้มีในงานเทศกาลปิดทองไหว้พระ ประจำปีของวัด และจะแข่งขันเรือยาวกันในวันพระ และกำหนดการแข่งขันเรือยาวของแต่ละวัดจะไม่ซ้ำกัน ประเภทของเรือที่แข่งขันจะเป็นเรือขนาดกลางฝีพาย ๒๐ - ๕๐ คน ความยาวประมาณ ๑๕ วา ที่หัวเรือจะผูกผ้าแพรสีต่าง ๆ มีพวงมาลัยคล้อง มีบายศรี และธงประจำเรือ ก่อนจะนำเรือลงแข่งขันจะมีพิธีไหว้แม่ย่านางเรือก่อน เพื่อเป็นศิริมงคล และขอพรให้ได้รับชัยชนะ การแข่งขันจะมีผู้ใหญ่ในจังหวัดเป็นกรรมการตัดสิน โดยก่อนแข่งขันจะจับสลากเลือกทุ่น และพายตามกระแสน้ำไปตามทุ่น เรือลำไหนถึงทุ่นก่อน เรือลำนั้นเป็นผู้ชนะ จากนั้นมีการมอบถ้วย และเงินรางวัลเป็นอันเสร็จสิ้นพิธี
ประเพณีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมือง
ช่วงเวลา จัดทุกๆ ๓ ปี หรือเรียกว่า สามปี๋สี่ฮวงข้าว
ความสำคัญ
เป็นประเพณีที่มีความสำคัญยิ่งของไทลื้อ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวไทลื้อได้เล่าต่อๆกันมาว่าเจ้าหลวงเมืองล้าคือ เจ้าเมืองที่ปกครองเมืองล้าในดินแดนสิบสองปันนา เป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถ และเป็นทั้งแม่ทัพนายกองของชาวไทลื้อเมืองล้าทั้งมวล และท่านได้สิ้นชีพิตักษัยในดินแดนสิบสองปันนา ในส่วนบริวารหรือผู้ช่วยของเจ้าหลวงเมืองล้าประกอบด้วย หิ่งช้าง หิ่งม้า ล่ามเมือง หาบมาด แจ่งฝ่าย เชียงล้านโอ๊ก่า ช้างเผือก ปูก่าผมเขียวดำแดง ปางแสน ปางสา ปางเม็ด ม่อนเชียง คือ ปากท่อทั้งห้า บ่อต่วน สวนตาลเมืองหลุก อ่างเรียง และม่านตอง
พิธีกรรม
เมื่อใกล้ถึงประเพณีเข้ากรรมเมือง ตัวแทนชาวไทลื้อทั้งสามหมู่บ้านได้แก่ บ้านหนองบัว บ้านต้นฮ่างและบ้านดอนมูล จะมาประชุมกันเพื่อกำหนดพิธีการและมอบหมายหน้าที่การงานกัน และที่สำคัญอย่างยิ่งจะมีการคัดเลือกบุคคลที่สืบเชื้อสายทางสายโลหิตของเจ้าหลวงเมืองล้า จำนวน ๑ คน มาเป็นตัวแทนชาวไทลื้อทั้งหมด เรียกว่าเจ้าเมือง ส่วนใหญ่มักจะคัดมาจากชาวไทลื้อบ้านดอนมูลซึ่งจะเป็นประธานในพิธีบวงสรวง และคัดเลือกชาวบ้านหนองบัว ที่สืบเชื้อสายมาจากหมอเมืองอีก ๑ คนหมอเมืองจะมีหน้าที่ป้อนอาหารในพิธีบวงสรวง เรียกว่า เจ้ายั๊ก หลังจากนั้นจะเลือกวันประกอบพิธีบวงสรวงโดยเลือกวันที่ดีที่สุดว่า วันเฒ่า การเข้ากรรมเมืองจะมีด้วยกันทั้งหมด ๓ วัน ซึ่งแต่ละวันจะมีกิจกรรมดังนี้
วันแรกประมาณ ๑๖.๐๐ น ชาวไทลื้อทั้ง ๓ หมู่บ้านจะปิดกั้นเขตแดน เข้า-ออก ของหมู่บ้านด้วย ตาแหลว (ใช้ไม้ไผ่สานคล้ายพัด) เมื่อปิดตาแหลวแล้วจะประกาศห้ามคนในหมู่บ้านออกนอกเขตตาแหลว และห้ามติดต่อกับภายนอกหมู่บ้านเป็นเวลา ๓ วัน และห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปในหมู่บ้านเช่นเดียวกัน ใครฝ่าฝืนจะถูกปรับไหมเป็นเงินทองแล้วแต่จะตกลงกันเพราะประเพณีนี้จะเป็นประเพณีที่มีเฉพาะในหมู่ชาวไทลื้อเชื้อสายเมืองล้าเท่านั้นจึงไม่ต้องการให้คนภายนอกล่วงรู้ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อถึงเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น จะแห่ เจ้าเมือง และหมอเมือง ไปยังสถานประกอบพิธีแห่งที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตบ้านหนองบัว โดยเจ้าเมือง และหมอเมืองจะพักอยู่ในที่พักที่จัดไว้ให้คนละหลัง ที่พักนี้สร้างขึ้นไว้สำหรับพิธีนี้โดย
เฉพาะ เมื่อเสร็จพิธีแล้วรื้อถอนทิ้งไป ครั้งถึงพิธีครั้งใหม่ก็จะสร้างขึ้นใหม่อีก ในบริเวณสถานที่ประกอบพิธีแห่งที่ ๑ จะมีมหรสพสมโภชทั้งกลางวันและกลางคืน และที่นิยมเล่นกันมากที่สุดคือการขับลื้อ นอกจากนี้จะมีการละเล่นพื้นเมือง เช่น การเล่นมะกอน (โยนหมอนผ้าหรือลูกช่วง) การเล่นมะไข่เต่า การเล่นสะบ้า การขึ้นเสาน้ำมัน ตะกร้อลอดบ่วง เป็นต้น
วันที่สองเป็นวันที่ชาวไทลื้อถือกันว่ามีความสำคัญที่สุดในระหว่างการอยู่กรรมเมืองเพราะจะมีการประกอบพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้าที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้ามืด (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นเวลาหลังจากรับประทานอาหารเช้าเสร็จแล้ว) โดยจะมีการแห่เจ้าเมือง หมอเมืองและสิ่งของที่ใช้สำหรับพิธีบวงสรวง ในขบวนแห่เจ้าเมือง หมอเมืองจะมีบ่าวหมอให้การอารักขาอย่างใกล้ชิด ขบวนแห่ดังกล่าวจะมุ่งตรงไปยังสถานที่ประกอบพิธีแห่งที่ ๒ ซึ่งเรียกว่า ปางเมือง (ปัจจุบันคืออนุสาวรีย์เจ้าหลวงเมืองล้า) ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่ประกอบพิธีแห่งที่ ๑ ประมาณ ๑๐๐ เมตร โดยจะจัดขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่เพราะชาวไทลื้อทั้ง ๓ หมู่บ้านจะพร้อมใจกันมาร่วมพิธีอันศักดิ์สิทธิ์อย่างคับคั่งทุกครั้ง เจ้าเมืองจะแต่งกายสีแดงล้วนก่อนที่ขบวนแห่จะเคลื่อนออกไป เจ้าเมืองกับหมอเมืองจะทำการทักทายกัน ณ บริเวณหน้าที่พักของเจ้าเมืองโดยทั้งคู่จะเหยียบตาบเหล็ก (เหล็กแผ่น) คนละแผ่น หมอเมืองจะทักขึ้นมาก่อนว่าเจ้าเมืองฮ่องหมอเมืองมาสัง (เจ้าเมืองเรียกหมอเมืองมาทำไม) เจ้าเมืองจะตอบว่า สองปี๋ฮาม สามปี๋คอบ ขอบดังมน ผีเมืองถูกจ้าด้ามเมืองถูกกิน หมอเมืองมาเฮือน ให้หมอนั่งตั่งหมองเมืองเซา (สรุปความว่าประเพณีบวงสรวงได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง ขอให้หมอเมืองขึ้นไปพักผ่อนบนบ้านก่อน) เมื่อขึ้นบนบ้านแล้วบ่าวหมอ (คนใช้หมอเมือง) จะทำหน้าที่ป้อน หมาก เมี่ยง และของกินอื่นๆแก่เจ้าเมือง เมื่อได้เวลาอันสมควรแล้วขบวนแห่จะเคลื่อนไปยังสถานที่แห่งที่ ๒ เพื่อทำพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้าต่อไป สิ่งของที่จะนำมาบวงสรวงนั้นจะประกอบด้วยสัตว์ ๔ เท้า และสัตว์ ๒ เท้า สัตว์ ๔ เท้า ได้แก่ วัว ควาย หมูดำ หมูขาวอย่างละ ๑ตัว ส่วนสัตว์ ๒ เท้า ได้แก่ ไก่
ในระหว่างการเคลื่อนขบวน หมอเมืองจะแวะเซ่นบวงสรวงบริวารเจ้าหลวงเมืองคือ หิ่งช้าง หิ่งม้า ซึ่งจะมีหออยู่สองหอโดยใช้ไก่เป็นๆ ทำการเซ่นสรวง จากนั้นขบวนจะเคลื่อนที่ต่อไปจนถึงสถานที่ประกอบพิธีแห่งที่ ๒ เมื่อถึงบริเวณสถานที่ประกอบพิธีดังกล่าว เจ้าเมืองและหมอเมืองจะสักการะดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองหล้าก่อน จากนั้นจึงเซ่นสรวงบริวารของเจ้าหลวง จะมีหออยู่ทั้งหมด ๓๒ หอ โดยใช้ไก่เป็นๆ หมอเมืองจะถอนขนไก่แล้วเอาข้าวสุกปั้นเป็นก้อนจิ้มลงไปที่ตัวไก่แล้ววางไว้ที่หอ ส่วนไก่นั้นจะโยนขึ้นเหนือศีรษะเพื่อปล่อยออกไป ช่วงนั้นจะมีการแย่งชิงไก่เพื่อนำไปเลี้ยงเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัว เสร็จแล้วจึงจะเป็นพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าหลวงเมืองล้าอันศักดิ์สิทธิ์ต่อไป ซึ่งจะต้องเซ่นสรวงด้วย สัตว์ ๔ เท้า อันได้แก่ วัวควาย หมูดำ หมูขาว สัตว์ดังกล่าวจะต้องผ่านพิธีลงดาบเสียก่อน แล้วจึงจะชำแหละเอาเนื้อมาเข้าเซ่นวิญญาณ ส่วนเนื้อที่เหลือลูกหลานชาวไทลื้อที่มาร่วมพิธีจะแบ่งปันกันไปประกอบอาหารซึ่งจะประกอบกันบริเวณใต้ถุนบ้าน ห้ามนำขึ้นไปประกอบบนบ้านโดยเด็ดขาด
วันที่สาม จะมีการเซ่นสรวงเทวดาอู ซึ่งหอเทวดาอูจะอยู่นอกบริเวณสถานที่ทั้งสอง ตอนบ่ายจะทำพิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้าเมือง หมอเมืองกลับสู่หมู่บ้านของตนเอง หลังจากนั้นจะเปิดสิ่งปิดกั้นหมู่บ้านออกเรียกว่าการเปิดแหลว หรือ ต้างแหลว จากนี้ไปชาวไทลื้อเชื้อสายเมืองล้าจะไปไหนมาไหนได้ตามปกติ
ประเพณีสมโภชพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
ช่วงเวลา
ช่วงวันมาฆะบูชา (วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี) รวมเวลา ๗ วัน ๗ คืน ปัจจุบันจะตรงกับเดือนกุมภาพันธ์
ความสำคัญ
งานสมโภชพระพุทธชินราชมีมาแต่โบราณกาล เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จมานมัสการพระพุทธชินราชแล้ว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีงานฉลองสมโภชพระพุทธชินราช ๓ วันบ้าง ๕ วันบ้าง ๗ วันบ้าง ต่อมาทางจังหวัดพิษณุโลกได้ริเริ่มกำหนดเป็นงานประจำปีขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ โดยกำหนดเอาวันเพ็ญเดือนสามเป็นต้นไปมีการฉลอง ๗ วัน ๗ คืน เพื่อให้ประชาชนได้มานมัสการพระพุทธชินราช เพื่อเป็นศิริมงคล และพักผ่อนหย่อนใจด้วยการชมมหรสพ เลือกซื้อสินค้าพื้นบ้านจากจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดต่าง ๆ กลับบ้านไปเป็น ที่ระลึกและใช้ในครอบครัว
พิธีกรรม
พิธีกรรมจะมี ๒ ช่วง คือ พิธีเปิดงาน และพิธีไหว้พระพุทธชินราชของ ประชาชน
พิธีเปิดงาน จะจัดงานในตอนเย็นของวันก่อนวันงาน โดยนิมนต์พระสงฆ์ ผู้ใหญ่ทำพิธีทางศาสนา และเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในพิธี ผู้ร่วมงานได้แก่ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนทั่วไป โดยมีพิธีการดังนี้
๑. สวดมนต์ไหว้พระรับศีล และพระสงฆ์สวดมนต์
๒. ทำพิธีเปิดงาน (เหมือนพิธีเปิดงานทั่วไป) โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกเป็นผู้กล่าวเปิดงาน
๓. พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา
๔. ถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่พระสงฆ์
๕. พระสงฆ์สวดให้พรเป็นจบพิธีช่วงแรก หลังจากนั้นวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันงานประชาชนจะเข้านมัสการโดยมีพิธีการดังนี้
- จุดธูปเทียน และนำดอกไม้มาบูชาพระ
- กราบไหว้พระพุทธชินราชในวิหาร อธิษฐานขอความสวัสดี และความเป็นมงคลให้เกิดแก่ตน
- หลังจากนั้นอาจจะมีการปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยเต่า ตามความเชื่อ
การจัดงานสมโภชนอกจากพิธีทางศาสนาแล้ว ยังมีมหรสพทั้งดนตรี ภาพยนตร์ ลิเก การละเล่นพื้นเมือง และการออกร้านจำหน่ายสินค้า เครื่องอุปโภค บริโภค ของที่ระลึก สินค้าพื้นเมืองจากกลุ่มแม่บ้านหน่วยงานเอกชน จากจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอื่น ๆ ในทุกภาคของประเทศไทย
ประเพณีไหว้พระธาตุดอยตุง
ช่วงเวลา วันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ (เดือน ๔ ไทยกลาง) หลังวันมาฆบูชา ๑ เดือน
ความสำคัญ
พระธาตุดอยตุง เป็นปูชนียสถานเก่าแก่ของชาวพุทธในเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้ง ชาวพุทธในรัฐเชียงตุง ประเทศพม่า และในประเทศลาว การไหว้พระธาตุดอยตุงเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตดีขึ้น
พิธีกรรม
ในวันเพ็ญเดือน ๖ พุทธมามะกะจากทุกทิศ จะเดินทางขึ้นไปบนยอดดอยตุง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย กิจกรรมในวันนั้น ภาคกลางวันมีการบูชาพระรัตนตรัย รับศีล
และฟังเทศน์ กลางคืนมีการเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ ในอดีต ผู้ที่เดินทางมักเดินจากเชิงเขาที่บ้านห้วยไคร้ อำเภอแม่สายขึ้นไปเป็นระยะทางประมาณ ๙ กิโลเมตร
ปัจจุบันนี้ นิยมเดินทางด้วยรถยนต์ตามถนนลาดยางที่แยกจากถนนพหลโยธินที่บ้านสันกอง อำเภอแม่จัน ส่วนผู้ที่นิยมเดินขึ้นเหลือน้อยลง เพราะถนนสำหรับรถยนต์ได้ทับเส้นทางเดินเท้าหลายแห่ง
ปัจจุบันนี้ นิยมเดินทางด้วยรถยนต์ตามถนนลาดยางที่แยกจากถนนพหลโยธินที่บ้านสันกอง อำเภอแม่จัน ส่วนผู้ที่นิยมเดินขึ้นเหลือน้อยลง เพราะถนนสำหรับรถยนต์ได้ทับเส้นทางเดินเท้าหลายแห่ง
ประเพณีลอยกระทงสาย
จังหวัดตาก
ช่วงเวลา วันเพ็ญเดือนสิบสอง
ความสำคัญ
เพื่อบูชาแม่คงคา ขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำและอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาท
พิธีกรรม
ก่อนถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองชาวบ้านจะเตรียมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
๑. แพผ้าป่าน้ำ ทำจากต้นกล้วยมาตกแต่งให้สวยงามด้วยดอกไม้ธูปเทียน ธงหลากสี ใส่หมากพลู บุหรี่ ขนม ผลไม้ เศษสตางค์ เพื่อเป็นทานสำหรับคนยากจนที่เก็บแพผ้าป่าน้ำได้
๒. กระทงสาย แต่เดิมตัวกระทงสายจะทำจากใบพลับพลึงอ่อนสีขาว เย็บเป็นรูปกระทง ไส้กระทงจะทำด้วยเชือกฝั้น และใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นเชื้อไฟ ปัจจุบันจะใช้กะลามะพร้าว ซึ่งต้องใช้เป็นจำนวนมากนับหมื่นใบ มีไส้กระทงเป็นเทียนหล่อในกะลา มีเชือกฝั้นเป็นไส้หรือจะใช้ขี้ไต้ก็ได้
เมื่อถึงเวลา ชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านจะจัดขบวนแห่ แต่งตัวกันสวยงามร่ายรำกันเป็นขบวนนำกระทงสายมายังท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำปิง เมื่อมาถึงพร้อมกันก็จะทำพิธีจุดธูปเทียนบูชาแม่คงคาขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำ รำลึกจิตอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้า และสุดท้ายอธิษฐานเพื่อลอยทุกข์โศก โรคบาปให้ตัวเองและครอบครัวแล้วทำการปล่อยแพผ้าป่าน้ำ
หลังจากนั้นชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านก็จะจับสลากว่า ใครจะเป็นผู้ปล่อยกระทงสายก่อน หมู่บ้านใดได้ลอยก่อน ก็จะพากันแบกอุปกรณ์ไปบริเวณที่จะปล่อยกระทง สมาชิกจะต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือและจะต้องทำงานประสานกัน คือ คนหนึ่งเตรียมกะลามะพร้าวนำขี้ไต้วางในกะลาส่งให้ผู้จุดไฟ
ส่งให้ผู้ปล่อยกะลาลงในน้ำ ซึ่งจะต้องใช้ความชำนาญในการปล่อยกะลามะพร้าวลงแม่น้ำให้เป็นระยะ ๆ ให้ห่างเท่ากันโดยสม่ำเสมอ กะลามะพร้าวก็จะลอยเป็นสายไปในแม่น้ำปิง ส่องแสงระยิบระยับสวยงาม และหากหมู่บ้านใดลอยได้ระยะสม่ำเสมอสวยงาม แสงไฟไม่ดับตลอดไป
ซึ่งมีระยะห่างจนสุดสายตา ก็จะเป็นผู้ชนะสำหรับปีนั้น และขณะที่สมาชิกส่วนหนึ่งปล่อยกระทง ที่เหลือก็จะเป็นกองเชียร์ ส่งเสียงเชียร์ตีกลองร่ายรำกันอย่างสนุกสนาน
ประเพณีแข่งเรือ
จังหวัดน่าน
การแข่งเรือของจังหวัดน่าน เป็นประเพณีเก่าแก่สืบต่อกันมานาน ลักษณะของเรือแข่ง ลำเรือจะใช้ท่อนซุงทั้งท่อนขุดแบบเรือชะล่า แต่รูปร่างเพรียวเบา หัวเรือแกะเป็นรูปพญานาค หรืองูใหญ่ชูคอเป็นสง่า อ้าปากโง้ง หางเรือทำเป็นหางพญานาคงอนสูง ตลอดลำเรือสลักลวดลาย ลงรักปิดทอง ติดกระจกสี ติดพู่ห้อยตรงหัวเรือและท้ายเรือ ตรงคอต่อหัวเรือปักธงประจำคณะ
ช่วงเวลา
นิยมแข่งขันกันในงานบุญและงานทอดกฐิน การแข่งเรือนัดสำคัญๆ ของจังหวัดน่าน คือ การแข่งในงาน"กฐินสามัคคี" เดิม ปัจจุบันคืองาน "กฐินพระราชทาน" แบ่งการแข่งขันออกเป็น ๒ ประเภท คือประเภทสวยงาม และประเภทความเร็ว การแข่งเรือในเทศกาลทอดกฐินของจังหวัดน่าน ซึ่งจะจัดช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ถือว่าเป็นการจัดงานที่ยิ่งใหญ่ และเป็นระเบียบเรียบร้อยงดงามยิ่งในจังหวัดภาคเหนืออีกแห่งหนึ่งที่จัดให้มีการแข่งขันเป็นประจำปี คือ การแข่งเรือที่อำเภอเวียงสาซึ่งจะมีการแข่งขันในเทศกาลทานก๋วยสลาก และเป็นการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้การแข่งเรือในตัวจังหวัด
ความสำคัญ
ลักษณะของเรือเมืองน่าน มาจากตำนานการตั้งเมืองน่านว่า ท้าวนุ่น ขุนฟองซึ่งเป็นต้นเค้าของราชวงศ์ภูคา บรรพบุรุษของเมืองน่านเกิดจากไข่พญางูใหญ่ จึงมีความเชื่อว่าบรรพบุรุษของชาวน่านกำเนิดมาจากพญานาค อีกประการหนึ่งมีความเชื่อว่าพญานาคเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีผลต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร ดังนั้นการทำเรือแข่งเป็นรูปพญานาคจึงเป็นการบูชาคุณพญานาคเจ้าแห่งน้ำ และบรรพบุรุษของตนเอง
พิธีกรรม
พิธีกรรมในการแข่งเรือมีมากมายหลายขั้นตอน ตั้งแต่การหาไม้เพื่อขุดเรือ การทำพิธีก่อนโค่นต้นไม้ก่อนขุดเรือ ก่อนนำเรือลงน้ำ และตอนแข่งขัน ผู้ที่ทำพิธี ได้แก่ พ่ออาจารย์ หรืออาจารย์วัดซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างมนุษย์กับ
ประเพณีปักธงชัย
จังหวัดพิษณุโลก
ช่วงเวลา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (สมัยโบราณเลือกวันใดวันหนึ่งในระหว่างขึ้น ๑-๑๔ ค่ำเดือน ๑๒)
ความสำคัญ
ประเพณีปักธงชัย คือ ประเพณีที่ชาวนครไทยพร้อมใจกันนำธงผ้าขาว ๓ ผืนไปปักบนยอดเขาฉันเพลยอดเขาฮันไฮ หรือยอดเขาย่านชัย และยอดเขาช้างล้วง ที่ทำให้เกิดสิริมงคลแก่ผู้ปฏิบัติ แสดงถึงพลังศรัทธาที่ชาวนครไทยมีต่อ "พ่อขุนบางกลางหาว"
พิธีกรรม
สมัยโบราณ มีพิธีกรรมดังนี้
๑. เมื่อใกล้เทศกาลปักธงชัย เวลากลางคืนจะมีชาวบ้านที่เป็นชายเป็นผู้ตีฆ้องเดินนำหน้าพระภิกษุไปรับบิณฑบาต "ดอกฝ้ายสีขาว" จากนั้นสตรีสูงอายุในหมู่บ้านใกล้ๆ วัดเหนือ วัดกลาง และวัดหัวร้อง จะชักชวนชาวบ้านมาช่วยกันตากฝ้าย หีบฝ้าย ดีดฝ้าย และเข็นฝ้าย (ปั่นฝ้าย) เมื่อได้เส้นด้ายขาวนวลแล้วจึงช่วยกันทอธงผ้าขาว ๓ ผืน จาก ๓ หมู่บ้าน
๒. ในวันพิธีปักธงชัย ชาวอำเภอนครไทยจะนำอาหารหวานคาว และนิมนต์พระภิกษุขึ้นไปยังเทือกเขาช้างล้วง ถวายภัตตาหารเพล ผู้นำชาวบ้าน จะกล่าวคำถวายธงผ้าขาวต่อพระภิกษุด้วยภาษาบาลี พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา ชาวบ้านจะนำธงผ้าขาวมาผูกติดกับด้ามไม้ไผ่ นำไปปักบนร่องหินธรรมชาติ ณ ยอดเขาฉันเพล ยอดเขายั่นไฮ และยอดเขาช้างล้วงตามลำดับ หลังจากเสร็จพิธีปักธงชัยแล้ว ชาวบ้านจะเล่นดนตรีพื้นบ้านและฟ้อนรำกันอย่างสนุกสนานลงมาจากยอดเขา
ปัจจุบัน มีพิธีกรรมดังนี้
๑. เมื่อใกล้เทศกาลปักธงชัย ชาวอำเภอนครไทยในหมู่บ้านใกล้วัดเหนือ วัดกลาง และวัดหัวร้อง จะช่วยซื้อฝ้ายและช่วยกันทอธงผ้าขาวขนาดกว้าง ๙๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๔ เมตร จำนวน ๓ ผืน จาก ๓ หมู่บ้านและทอเป็นลวดลายบริเวณชายธงอย่างสวยงาม
๒. เวลาเช้าของวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๒ จะนำธงไปทำพิธีบวงสรวงที่อนุสาวรีย์พ่อขุนบางกลางหาวภาคบ่ายมีการประกวดริ้วขบวนจากทุกหมู่บ้าน กลางคืนจัดงานรื่นเริงฉลอง
๓. รุ่งเช้าของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ตั้งริ้วขบวนรถยนต์ เคลื่อนไปตามถนนแล้วเดินผ่านคันนาขึ้นไปประกอบพิธีปักธงชัยเช่นเดียวกับในสมัยโบราณ ตอนกลางคืนจัดงานลอยกระทงและมีการละเล่นต่าง ๆ